Latest News
การออกแบบกิจกรรมทางการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในชุมชน |
จากบริบทของโรงเรียนในฝันที่ชุมชนมีความพร้อมในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนมีทรัพยากรที่พอเพียง มีครูที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมถ่ายทอด
ความรุ้แก่ผู้เรียนเพื่อสืบสานมรดกความดีงามทั้งด้านความรู้ และศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชน จึงกำหนดให้ครูมีบทบาท ดังนี้
- เป็นผู้จัดการ คือ เป็นผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรม แบ่งกลุ่มหรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ นักเรียนทุกคน จัดการให้ ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน
- เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม คือ ร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริง ๆ พร้อมทั้งให้ ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนขณะทำกิจกรรม
- เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ คือ คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียน ต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง เช่น คำศัพท์หรือไวยากรณ์การให้ข้อมูลหรือความรู้ ในขณะที่นักเรียนต้องการ ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง คือ สนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์ หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
- เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ คือ คอยตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่นที่จะส่งต่อไปให้ นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้อง ของคำศัพท์ ไวยากรณ์ การแก้คำผิด ทั้งก่อนทำกิจกรรมหรือหลังทำกิจกรรม
ระบบหลัก | กิจกรรม | หลักจิตวิทยา |
1. ระบบการเรียนรู้ | -การจัดการเรียนรู้ ตามหลัก CIPPA Model ด้วยกิจกรรม ที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติ การแก้ปัญหา การระดมสมอง สร้างปฏิสัมพันธ์ มีชิ้นงาน การนำเสนอ และการสรุปองค์ ความรู้ด้วยวิธีแปลกใหม่ -การเรียนรู้ด้วยตนเอง/กลุ่มจาก E-Learning -การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ นอกชั้นเรียน/นอกโรงเรียน -การฝึกคิดอย่างเป็นระบบ -การประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการประเมินที่หลาก หลาย และมีผู้ร่วมประเมิน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง -การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สอดแทรกควบคู่การการเรียน ปกติอย่างเป็นระบบแต่ กลมกลืน | -ความพึงพอใจ -เรียนจากง่ายไปยาก -เรียนรู้แบบองค์ร่วมสู่ส่วนย่อย -ความแตกต่างระหว่างบุคคล -การฝึกหัด -การเสริมแรง -การสะท้อนผลนำไปสู่แรง จูงใจในการเรียนรู้ -การมีต้นแบบที่ดีและได้ฝึก ปฏิบัติจะนำไปสู่การสร้าง ลักษณะนิสัย |
2. ระบบกิจกรรม | -กิจกรรมสร้างเสริมวินัย/คุณธรรม -กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน-ใฝ่เรียนรู้ -กิจกรรมสร้างเสริมทักษะชีวิต -กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกาย/จิต -กิจกรรมพัฒนาผู้นำ-ผู้ตาม -กิจกรรมพัฒนาสุนทรียะด้านดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ -กิจกรรมส่งเสริมอาชีพอิสระ | การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคทางจิตวิทยาสำคัญ 3 ประการคือ -การสร้างค่านิยมให้กระจ่าง -การปรับพฤติกรรม -การเรียนรู้จากสังคม ทั้งนี้ต้องมีการวางเงื่อนไข การให้ รางวัล หรือการลงโทษ |
3. ระบบสนับสนุน | *การจัดอาคารสถานที่ *การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ *การจัดชั้นเรียน *การจัดห้องปฏิบัติการ *การจัดตารางเรียน-ตารางสอน *การจัดห้องสมุด *การจัดห้องบริการสืบค้น IT *การจัดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน *การจัดแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน *ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน *ระบบแนะแนว/ให้คำปรึกษา | -มนุษย์มีความแตกต่าง -แรงจูงใจส่งผลต่อการเรียนรู้ -มนุษย์อยากเรียนรู้เมื่อมีความพร้อม -ทุกคนต้องการเรียนรู้อย่างสนุก สนาน -สื่อเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ -คนมีสไตล์การเรียนรู้ต่างกัน -มนุษย์ต้องการเพื่อน -มนุษย์ต้องการการยอมรับ -บรรยากาศส่งผลต่อการเรียนรู้ |
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรามการเรียนรู้หรือกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่าง ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงบริบท สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา รวมถึงนโยบายในการจัดการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ ครูต้องใช้ศาสตร์และศิลปะในการครองใจนักเรียนเพื่อนำไปสู้ศรัทธา ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ ที่จะนำไปสู่แรงจูงใจในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพโดยสื่อ นวัตกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม
กระบวนทัศน์ทางการศึกษา |
จากการประเมินผลการพัฒนาในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาที่ขาดสมดุล โดยประสบความสำเร็จเฉพาะในเชิงปริมาณ แต่ขาดความสมดุลด้านคุณภาพ “จุดอ่อน” ของการพัฒนาที่สำคัญ คือ ระบบบริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และราชการ ยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจและขาดประสิทธิภาพ ระบบกฎหมายล้าสมัย คุณภาพการศึกษายังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่อนแอ ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจยังด้อยประสิทธิภาพ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ความยากจน และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ ความอ่อนแอของสังคมไทยที่ตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมได้ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและปัญหาสังคมมากขึ้นด้วย
กระแสการเปลี่ยนแปลงหลักของโลกเป็นทั้ง “โอกาสและภัยคุกคาม” ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงสลับซับซ้อน และเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีการปรับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลก ที่นำไปสู่กติกาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ และแนวโน้มการพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยี และการใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา ทำให้ต้องเร่งเตรียมความพร้อมทั้งการสร้างระบบ กลไก และพัฒนาคนให้สามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อคงสถานะการแข่งขันของประเทศและก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเท่าทันโลกได้ต่อไปภายใต้สถานการณ์และแนวโน้มในอนาคต
ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องกำหนดแผนที่ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศ ที่จำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในการทางปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น และมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น จะต้องให้ความสำคัญลำดับสูงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ ในอันที่จะสร้างพลังร่วมกันให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคม ที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการประเทศใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
การเปลี่ยนเปลงของสังคมโลกส่งผลต่อสังคมไทย |
สรุปได้ว่า แนวโน้มของกระแสโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมไทยด้านระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาพลังงาน ระบบสารเทศ รูปแบบการทำงาน รวมทั้งโครงสร้างด้านสังคม
และการเมือง ทั้งส่วนรูแบบครอบครัว วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรม ตลอดจนรูปแบบการเมืองการปกครองที่กระจายอำนาจ และใช้ระบบธรรมรัฐในการตรวจสอบความโปร่งใส บริสุทธิ์
ยุติธรรม และระบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย เปิดโอกาสเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
เอกสารอ้างอิง
- ชัยอนันต์ สมุทรวานิช. วิสัยทัศน์ไทยในสังคมโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2543
- เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. สู่กระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จำกัด, 2539
- ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. กระบวนทัศน์ใหม่และแนวโน้มการจัดการศึกษาการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : การศึกษา, 2545
รูปแบบ แนวคิด และกิจกรรมทางการศึกษา : ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต |
รูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนสามรถจัดได้อย่างหลากหลายตามแนวคิด ปรัชญา และความเชื่อของผู้จัด โดยมุ่งเน้นผลที่เกิดกับผู้เรียนที่อาจแตกต่างกันไป ตามบริบทของโรงเรียน อันได้แก่ นโยบาย เจตคติและค่านิยมของชุมชน วัฒนธรรมประเพณี ทรัพยากร สนับสนุนจากชุมชน ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องคำนึงและตระหนักในการจัดทำหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้ ก่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรร สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้เท่าทันโลก เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง สามารถสั่งสมทุนทางปัญญา รักษาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนพร้อมที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว และสังคม ให้ดำรงชีพได้อย่างมีความสุข
รูปแบบ | แนวคิดทางปรัชญา | คำสำคัญ | กิจกรรม |
ซัมเมอร์ฮิลล์ และ อัตถิภาวะนิยม | ภววาทนิยม/อัตถิภาวะนิยม (Existentialissm) -เน้นเรื่องเสรีภาพ -การพัฒนาจิตวิญญาณ -เน้นการรู้จักตนเอง -เน้นความสำคัญของบุคคล -เน้นความรับผิดชอบ -ความรู้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล | -มนุษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำไม่ใช่ทำสิ่งที่มนุษย์เป็น -เข้าหาเป้าหมายชีวิตของแต่ละบุคคล -ไม่มีวิชาใดวิชาหนึ่งสำคัญที่สุด | -ไม่กำหนดแบบแผน -ฝึกความรับผิดชอบตนเอง -นักเรียนมีเสรีภาพ -ครูเป็นผู้แนะนำ/กระตุ้น -เนื้อหาไม่จำกัดขอบเขต -เน้นศิลปศาสตร์ / ประวัติศาสตร์ |
สร้างองค์ความรู้ | Constructinvism *Learning By Doing *Co-operative Learnig -เน้นเรียนรู้โดยการปฏิบัติ -ผู้เรียนค้นหาและสรุปความรู้เอง -การจัดการเรียนรู้ที่มีความหมาย -การเชื่อมโยงความรู้เดิม-ใหม่ | *ความรู้ไม่ใช่ความจริง แท้เป็นเพียงสิ่งสมเหตุ สมผลในช่วงเวลานั้น และเปลี่ยน แปลงได้ *ความรู้เกิดจากโครง สร้างทางปัญญา | *จัดบรรยากาศ/แหล่ง/สื่อ *กระตุ้นผู้เรียนด้วยคำถาม *ผู้เรียนปฏิบัติหาคำตอบ *ผู้สอนแนะนำ/เสริมแรง *ประเมิน/สะท้อนกลับ *ใช้แผนที่ความคิด *ใช้การสืบเสาะ *ใช้การแก้ปัญหา |
ปราศจากโรงเรียน | Deschooling Society *ควรเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลา *ควรแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนความรู้ *ควรเปิดโอกาเสนอข้อคิดเห็น | *จัดวัตถุทางการศึกษา ให้คนเขาถึงได้มาก ที่สุด *ระบบโรงเรียนแพง และไม่คุ้ม | *สร้างแหล่งเรียนรู้รอบตัว อย่างหลากหลาย *เปิดศูนย์ทักษะ/ความรู้ *สร้างธนาคารความรู้ *จัดคู่สนใจเพื่อร่วมเรียนรู้ *ทุกคนเป็นครูได้ *จัดคูปองการศึกษา |
การจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ | E-Learning *เรียนรู้โดยไม่จำกัดเวลา/สถานที่ *เรียนรู้ตลอดชีวิต *การเรียนผ่านคอมพิวเตอร์และ ระบบโทรคมนาคม | *การมีส่วนร่วม *การสะท้อนผลกลับ *การเสริมแรง *การเรียนจากง่ายไปยาก | *จัด Knoeledge Base *ชุดการเรียน *ห้องเรียนเสมือนจริง *แหล่งความรู้แสริม *ศูนย์ประเมินการเรียน *ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล *ศูนย์สื่อโสตทัศน์ |
Plearn | Plearn = Play + Learn *ทุกคนอย่างเรียนรู้ แต่การเรียนรู้ ต้องมีความสุข *การเรียนรู้โดยการเล่นนำไปสู่ การคิดสร้างสรรค์ | *การเล่นเป้นกระบวน การเรียนรู้ *การมีส่วนร่วม *ปฏิสัมพันธ์ *สอนให้ทำ นำให้คิด | *ครูออกแบบกิจกรรม ที่เหมาะสม *จัดสถานการณ์และสร้าง ทางเลือกในการเรียนรู้ โดยการเล่น *สื่อเครื่องเล่น/อุปกรณ์ การเรียนที่หลากหลาย *ทรัพยากรและสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสม |
มนุษยนิยมแนวใหม่ | Neo-Humanism *มนุษย์และประโยชน์สุขของ มนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด *เน้นความรัก/ความเมตตา *มนุษย์คือมนุษย์ โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์ *สิ่งมีชีวิตมีคุณค่าแก่การดำรง ชีวิตเท่ากัน | *เข้าหาธรรมชาติ *ยกระดับจิตใจ *ทางสายกลาง *ใช้วิธีการแห่งเหตุผล *ปัญญาเป็นเครื่องมือ ในการแก้ปัญหา *ใช้เทคโนโลยีในการ แก้ปัญหา | *จัดสิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ *ฝึกฝนจิต/จริยธรรม *การรู้จักพอเพียง *การอยู่ร่วมกันโดยสันติ *สร้างวุฒิปัญญา *ฝึกการหาเหตุ-ผล *เน้นคณิตศาสตร์ *เน้นภาษา |
ระบบสัญญา | Charter School *การศึกษาเพื่อทุกคน และทุกคนมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา *เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ | *ชุมชนจัดตั้งโรงเรียน *สนองความต้องการ ของชุมชน | *คละอายุ *เนื้อหาบูรณาการ *ใช้เทคโนโลยีทันสมัย ในการเรียนรู้ |
เอกสารอ้างอิง
- ชัยอนันต์ สมุทรวานิช. วิสัยทัศน์ไทยในสังคมโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2543
- เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. สู่กระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จำกัด, 2539
- ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. กระบวนทัศน์ใหม่และแนวโน้มการจัดการศึกษาการบริหารการศึกษา
ภาพประกอบ : การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา |
การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาคืออะไร
การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การศึกษาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเสาะหาความรู้ เทคนิค วิธีการตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการศึกษา แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ (System Technology) ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการศึกษา ด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ การวิจัย การออกแบบ การประเมิน การสนับสนุนช่วยเหลือ การนำไปใช้ และการเผยแพร่ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นเทคโนโลยีผลิตผล (Product Technology) อันได้แก่ ทรัพยากรการเรียนทั้งหลาย เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประเภทของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ปัจจุบันการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การวิจัยสำรวจข้อมูลพื้นฐานหรือปัญหา (Survay or Identification Research)
2. การวิจัยพัฒนาสื่อและวิธีการใหม่ ๆ (Developmental Research)
3. การวิจัยทดลองเกี่ยวกับสื่อ (Experimental Research)ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
3.1 การวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับสื่อ (Basic Studies)
3.2 การวิจัยเกี่ยวกับวิธีใช้สื่อ (Utilization Studies)
3.3 การวิจัยเปรียบเทียบผลของสื่อ (Comparative Effectiveness Studies)
แนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้เสนอแนวทางไว้ ดังนี้
- ลัมสเดน กล่าวถึงแนวทางการวิจัยสื่อในอนาคตว่า ควรลดความพยายามที่จะพิสูจน์ถึงคุณค่าหรือคุณภาพของสื่อแต่ละชนิด ควรมีการผสมผสานในคุณลักษณะของการสอน อย่าพยายามใช้สื่อเดียวโดด ๆ ให้นำหลักการพื้นฐานต่าง ๆ มาขัดเกลาและทำให้สมบูรณ์
- ซาโลมอน กล่าวถึงแนวทางการวิจัยสื่อในด้านความแตกต่างที่ปฏิสัมพันธ์กับตัวบุคคล สังคม และวัฒนธรรม สิ่งที่สำคัญที่สุดในการวิจัยสื่อที่อาจาเกิดขึ้น คือ การนำเอาจุดประสงค์พื้นฐานของระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาอธิบายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- คลาร์ค กล่าวว่า การวิจัยในอนาคตจะต้องเน้นจุดที่จำเป็นของลักษณะวิธีการสอนและตัวแปรต่าง ๆ
- อีลี กล่าวถึงข้อคิดและแนวโน้มการวิจัย คือ วิจัยในเรื่องการเรียนรายบุคคลมากขึ้น เน้นสภาพการเรียนแบบใหม่ ๆ วิจัยเกี่ยวกับการวิจัยวัฒนธรรมข้ามชาติ มากขึ้น เป็นการวิจัยเพื่อให้รู้ว่าทำไม
- ไรซ์ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการวิจัยสื่อใหม่ ๆ ไว้ว่าควรวิจัยด้านการสื่อสารมากกว่าวิจัยในสื่อใหม่ ๆ
- เลิศลักษณ์ ส.บุรุษพัฒน์ กล่าวว่า แนวทางการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสาร มีเรื่องที่น่าทำการวิจัยอยู่ใน 4 ขั้นตอน คือ วิจัยกลุ่มเป้าหมาย , วิจัยเรื่องเนื้อหา , วิจัยเรื่องการสอนหรือข่าวสาร , วิจัยการประเมินการใช้สื่อหรือประเมินโครงการ
- ชม ภูมิภาค กล่าวถึงแนวโน้มการวิจัยในอนาคต ไว้ว่า ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการร่วมกับเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์และคงจะเป็นเทคโนโลยีประเภทที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบรายบุคคล
ภาพประกอบ01 - information.ppt |
ภาพประกอบ02 - information.ppt |
ภาพประกอบ03 - information.ppt |
ความหมายของคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทางานรับข้อมูล เพื่อทำการ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ต่างๆ รวมไปถึงการเก็บรักษาข้อมูลไว้ใช้เมื่อเวลาต้องการ
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
- ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
- ความเร็ว (Speed)
- ความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy)
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
- การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability)
- ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability)
- การติดต่อสื่อสาร (Communication)
วิวัฒนาการก่อนจะมาเป็นคอมพิวเตอร์
- ยุคก่อนเครื่องจักรกล (Premechanical)
- ยุคเครื่องจักรกล (Mechanical)
- ยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electromechnical)
- ยุคเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic)