Latest News

กิจกรรมทางการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในชุมชน

การออกแบบกิจกรรมทางการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในชุมชน


      จากบริบทของโรงเรียนในฝันที่ชุมชนมีความพร้อมในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียน  โรงเรียนมีทรัพยากรที่พอเพียง  มีครูที่มีคุณภาพ  มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมถ่ายทอด
ความรุ้แก่ผู้เรียนเพื่อสืบสานมรดกความดีงามทั้งด้านความรู้  และศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชน   จึงกำหนดให้ครูมีบทบาท ดังนี้
  • เป็นผู้จัดการ  คือ  เป็นผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรม แบ่งกลุ่มหรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ นักเรียนทุกคน จัดการให้ ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน
  • เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม คือ  ร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริง ๆ พร้อมทั้งให้ ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนขณะทำกิจกรรม
  • เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ คือ  คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียน ต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง เช่น คำศัพท์หรือไวยากรณ์การให้ข้อมูลหรือความรู้ ในขณะที่นักเรียนต้องการ ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง คือ  สนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์ หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
  • เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ คือ  คอยตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่นที่จะส่งต่อไปให้ นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้อง ของคำศัพท์ ไวยากรณ์  การแก้คำผิด  ทั้งก่อนทำกิจกรรมหรือหลังทำกิจกรรม 
สำหรับกิจกรรมที่จัดในการเรียนการสอน กำหนดแนวทางดังนี้

ระบบหลัก
กิจกรรม
หลักจิตวิทยา
1. ระบบการเรียนรู้



-การจัดการเรียนรู้ ตามหลัก  
  CIPPA Model   ด้วยกิจกรรม
  ที่หลากหลาย  เน้นการปฏิบัติ
  การแก้ปัญหา   การระดมสมอง 
  สร้างปฏิสัมพันธ์   มีชิ้นงาน 
  การนำเสนอ  และการสรุปองค์ 
  ความรู้ด้วยวิธีแปลกใหม่
-การเรียนรู้ด้วยตนเอง/กลุ่มจาก
  E-Learning
-การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
  นอกชั้นเรียน/นอกโรงเรียน
-การฝึกคิดอย่างเป็นระบบ
-การประเมินผลตามสภาพจริง
   ด้วยวิธีการประเมินที่หลาก
  หลาย และมีผู้ร่วมประเมิน
  ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
-การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
  สอดแทรกควบคู่การการเรียน
  ปกติอย่างเป็นระบบแต่
  กลมกลืน
-ความพึงพอใจ
-เรียนจากง่ายไปยาก
-เรียนรู้แบบองค์ร่วมสู่ส่วนย่อย
-ความแตกต่างระหว่างบุคคล
-การฝึกหัด
-การเสริมแรง
-การสะท้อนผลนำไปสู่แรง จูงใจในการเรียนรู้
-การมีต้นแบบที่ดีและได้ฝึก
  ปฏิบัติจะนำไปสู่การสร้าง
   ลักษณะนิสัย
2. ระบบกิจกรรม







-กิจกรรมสร้างเสริมวินัย/คุณธรรม
-กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน-ใฝ่เรียนรู้
-กิจกรรมสร้างเสริมทักษะชีวิต
-กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกาย/จิต
-กิจกรรมพัฒนาผู้นำ-ผู้ตาม
-กิจกรรมพัฒนาสุนทรียะด้านดนตรี
   นาฏศิลป์  ศิลปะ
-กิจกรรมส่งเสริมอาชีพอิสระ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคทางจิตวิทยาสำคัญ
3  ประการคือ
  -การสร้างค่านิยมให้กระจ่าง
  -การปรับพฤติกรรม
  -การเรียนรู้จากสังคม
ทั้งนี้ต้องมีการวางเงื่อนไข  การให้
รางวัล  หรือการลงโทษ
3. ระบบสนับสนุน







*การจัดอาคารสถานที่
*การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ
*การจัดชั้นเรียน
*การจัดห้องปฏิบัติการ
*การจัดตารางเรียน-ตารางสอน
*การจัดห้องสมุด
*การจัดห้องบริการสืบค้น IT
*การจัดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
*การจัดแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน
*ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
*ระบบแนะแนว/ให้คำปรึกษา
-มนุษย์มีความแตกต่าง
-แรงจูงใจส่งผลต่อการเรียนรู้
-มนุษย์อยากเรียนรู้เมื่อมีความพร้อม
-ทุกคนต้องการเรียนรู้อย่างสนุก
  สนาน
-สื่อเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้
-คนมีสไตล์การเรียนรู้ต่างกัน
-มนุษย์ต้องการเพื่อน
-มนุษย์ต้องการการยอมรับ
-บรรยากาศส่งผลต่อการเรียนรู้
สรุปได้ว่า  การจัดกิจกรามการเรียนรู้หรือกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่าง  ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงบริบท  สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา  รวมถึงนโยบายในการจัดการศึกษาของชาติ  ทั้งนี้  ครูต้องใช้ศาสตร์และศิลปะในการครองใจนักเรียนเพื่อนำไปสู้ศรัทธา ความเชื่อมั่น  ความเชื่อถือ ที่จะนำไปสู่แรงจูงใจในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพโดยสื่อ นวัตกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม
Tags:

About author

Curabitur at est vel odio aliquam fermentum in vel tortor. Aliquam eget laoreet metus. Quisque auctor dolor fermentum nisi imperdiet vel placerat purus convallis.

0 ความคิดเห็น

Leave a Reply