กระบวนทัศน์ทางการศึกษา |
จากการประเมินผลการพัฒนาในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาที่ขาดสมดุล โดยประสบความสำเร็จเฉพาะในเชิงปริมาณ แต่ขาดความสมดุลด้านคุณภาพ “จุดอ่อน” ของการพัฒนาที่สำคัญ คือ ระบบบริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และราชการ ยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจและขาดประสิทธิภาพ ระบบกฎหมายล้าสมัย คุณภาพการศึกษายังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่อนแอ ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจยังด้อยประสิทธิภาพ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ความยากจน และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ ความอ่อนแอของสังคมไทยที่ตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมได้ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและปัญหาสังคมมากขึ้นด้วย
กระแสการเปลี่ยนแปลงหลักของโลกเป็นทั้ง “โอกาสและภัยคุกคาม” ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงสลับซับซ้อน และเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีการปรับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลก ที่นำไปสู่กติกาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ และแนวโน้มการพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยี และการใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา ทำให้ต้องเร่งเตรียมความพร้อมทั้งการสร้างระบบ กลไก และพัฒนาคนให้สามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อคงสถานะการแข่งขันของประเทศและก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเท่าทันโลกได้ต่อไปภายใต้สถานการณ์และแนวโน้มในอนาคต
ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องกำหนดแผนที่ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศ ที่จำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในการทางปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น และมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น จะต้องให้ความสำคัญลำดับสูงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ ในอันที่จะสร้างพลังร่วมกันให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคม ที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการประเทศใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
การเปลี่ยนเปลงของสังคมโลกส่งผลต่อสังคมไทย |
สรุปได้ว่า แนวโน้มของกระแสโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมไทยด้านระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาพลังงาน ระบบสารเทศ รูปแบบการทำงาน รวมทั้งโครงสร้างด้านสังคม
และการเมือง ทั้งส่วนรูแบบครอบครัว วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรม ตลอดจนรูปแบบการเมืองการปกครองที่กระจายอำนาจ และใช้ระบบธรรมรัฐในการตรวจสอบความโปร่งใส บริสุทธิ์
ยุติธรรม และระบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย เปิดโอกาสเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
เอกสารอ้างอิง
- ชัยอนันต์ สมุทรวานิช. วิสัยทัศน์ไทยในสังคมโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2543
- เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. สู่กระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จำกัด, 2539
- ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. กระบวนทัศน์ใหม่และแนวโน้มการจัดการศึกษาการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : การศึกษา, 2545
0 ความคิดเห็น