Latest News

รูปแบบ แนวคิด และกิจกรรมทางการศึกษา

รูปแบบ แนวคิด และกิจกรรมทางการศึกษา : ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

      รูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนสามรถจัดได้อย่างหลากหลายตามแนวคิด ปรัชญา  และความเชื่อของผู้จัด  โดยมุ่งเน้นผลที่เกิดกับผู้เรียนที่อาจแตกต่างกันไป ตามบริบทของโรงเรียน  อันได้แก่  นโยบาย  เจตคติและค่านิยมของชุมชน  วัฒนธรรมประเพณี  ทรัพยากร  สนับสนุนจากชุมชน  ทั้งนี้  สถานศึกษาต้องคำนึงและตระหนักในการจัดทำหลักสูตร  การจัดกระบวนการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้    ก่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรร สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้เท่าทันโลก เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง สามารถสั่งสมทุนทางปัญญา รักษาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนพร้อมที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง  ครอบครัว  และสังคม ให้ดำรงชีพได้อย่างมีความสุข


รูปแบบ
แนวคิดทางปรัชญา
คำสำคัญ
กิจกรรม
ซัมเมอร์ฮิลล์ และ
อัตถิภาวะนิยม
ภววาทนิยม/อัตถิภาวะนิยม
(Existentialissm)
-เน้นเรื่องเสรีภาพ
-การพัฒนาจิตวิญญาณ
-เน้นการรู้จักตนเอง
-เน้นความสำคัญของบุคคล
-เน้นความรับผิดชอบ
-ความรู้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
-มนุษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำไม่ใช่ทำสิ่งที่มนุษย์เป็น
-เข้าหาเป้าหมายชีวิตของแต่ละบุคคล
-ไม่มีวิชาใดวิชาหนึ่งสำคัญที่สุด
-ไม่กำหนดแบบแผน
-ฝึกความรับผิดชอบตนเอง
-นักเรียนมีเสรีภาพ
-ครูเป็นผู้แนะนำ/กระตุ้น
-เนื้อหาไม่จำกัดขอบเขต
-เน้นศิลปศาสตร์ /มนุษยศาสตร์/
ประวัติศาสตร์
สร้างองค์ความรู้
Constructinvism
*Learning  By  Doing
*Co-operative Learnig
-เน้นเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
-ผู้เรียนค้นหาและสรุปความรู้เอง
-การจัดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
-การเชื่อมโยงความรู้เดิม-ใหม่และนำความรู้ไปใช้
*ความรู้ไม่ใช่ความจริง
   แท้เป็นเพียงสิ่งสมเหตุ
   สมผลในช่วงเวลานั้น
   และเปลี่ยน แปลงได้
*ความรู้เกิดจากโครง
  สร้างทางปัญญา
*จัดบรรยากาศ/แหล่ง/สื่อ
*กระตุ้นผู้เรียนด้วยคำถาม
*ผู้เรียนปฏิบัติหาคำตอบ
*ผู้สอนแนะนำ/เสริมแรง
*ประเมิน/สะท้อนกลับ
*ใช้แผนที่ความคิด
*ใช้การสืบเสาะ
*ใช้การแก้ปัญหา
ปราศจากโรงเรียน
Deschooling Society
*ควรเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลา
*ควรแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนความรู้
*ควรเปิดโอกาเสนอข้อคิดเห็น


*จัดวัตถุทางการศึกษา
  ให้คนเขาถึงได้มาก
   ที่สุด
*ระบบโรงเรียนแพง
   และไม่คุ้ม
*สร้างแหล่งเรียนรู้รอบตัว
  อย่างหลากหลาย
*เปิดศูนย์ทักษะ/ความรู้
*สร้างธนาคารความรู้
*จัดคู่สนใจเพื่อร่วมเรียนรู้
*ทุกคนเป็นครูได้
*จัดคูปองการศึกษา
การจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์



E-Learning
*เรียนรู้โดยไม่จำกัดเวลา/สถานที่
*เรียนรู้ตลอดชีวิต
*การเรียนผ่านคอมพิวเตอร์และ  
  ระบบโทรคมนาคม

*การมีส่วนร่วม
*การสะท้อนผลกลับ
*การเสริมแรง
*การเรียนจากง่ายไปยาก
*จัด Knoeledge Base
*ชุดการเรียน
*ห้องเรียนเสมือนจริง
*แหล่งความรู้แสริม
*ศูนย์ประเมินการเรียน
*ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล
*ศูนย์สื่อโสตทัศน์

Plearn


Plearn = Play + Learn
*ทุกคนอย่างเรียนรู้ แต่การเรียนรู้
  ต้องมีความสุข
*การเรียนรู้โดยการเล่นนำไปสู่
  การคิดสร้างสรรค์

*การเล่นเป้นกระบวน
  การเรียนรู้
*การมีส่วนร่วม
*ปฏิสัมพันธ์
*สอนให้ทำ นำให้คิด
*ครูออกแบบกิจกรรม
  ที่เหมาะสม
*จัดสถานการณ์และสร้าง
  ทางเลือกในการเรียนรู้
  โดยการเล่น
*สื่อเครื่องเล่น/อุปกรณ์
  การเรียนที่หลากหลาย
*ทรัพยากรและสภาพ
   แวดล้อมที่เหมาะสม
มนุษยนิยมแนวใหม่
Neo-Humanism
*มนุษย์และประโยชน์สุขของ
  มนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
*เน้นความรัก/ความเมตตา
*มนุษย์คือมนุษย์  โดยมนุษย์
  และเพื่อมนุษย์
*สิ่งมีชีวิตมีคุณค่าแก่การดำรง
  ชีวิตเท่ากัน
*เข้าหาธรรมชาติ
*ยกระดับจิตใจ
*ทางสายกลาง
*ใช้วิธีการแห่งเหตุผล
*ปัญญาเป็นเครื่องมือ
  ในการแก้ปัญหา
*ใช้เทคโนโลยีในการ
  แก้ปัญหา
*จัดสิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
*ฝึกฝนจิต/จริยธรรม
*การรู้จักพอเพียง
*การอยู่ร่วมกันโดยสันติ
*สร้างวุฒิปัญญา
*ฝึกการหาเหตุ-ผล
*เน้นคณิตศาสตร์
*เน้นภาษา
ระบบสัญญา
Charter  School
*การศึกษาเพื่อทุกคน
   และทุกคนมีส่วนร่วมในการ
   จัดการศึกษา
*เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
*ชุมชนจัดตั้งโรงเรียน
*สนองความต้องการ
  ของชุมชน

*คละอายุ
*เนื้อหาบูรณาการ
*ใช้เทคโนโลยีทันสมัย
  ในการเรียนรู้




เอกสารอ้างอิง
  • ชัยอนันต์  สมุทรวานิช.  วิสัยทัศน์ไทยในสังคมโลก.  กรุงเทพฯ   :   สำนักพิมพ์อมรินทร์,   2543
  • เทียนชัย  วงศ์ชัยสุวรรณ.  สู่กระบวนทัศน์ใหม่.  กรุงเทพฯ  :  พิมพ์ดี จำกัด,  2539
  • ไพพรรณ  เกียรติโชติชัย.  กระบวนทัศน์ใหม่และแนวโน้มการจัดการศึกษาการบริหารการศึกษา
       ในศตวรรษที่ 21.  กรุงเทพฯ  :  การศึกษา,  2545
Tags:

About author

Curabitur at est vel odio aliquam fermentum in vel tortor. Aliquam eget laoreet metus. Quisque auctor dolor fermentum nisi imperdiet vel placerat purus convallis.

0 ความคิดเห็น

Leave a Reply